วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างสารคดีเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวอย่างสารคดีเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

         เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์?

         ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ ?มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี?
        สมัยก่อน เกษตรกรจะทำการผลิตเพื่อการบริโภค โดยอาศัยธรรมชาติตามสภาพแวดล้อมที่มีการปลูกพืชหลากหลายชนิดคละกัน ทั้งพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร พืชใช้สอย ในลักษณะสวนผสม พืชเหล่านี้ จะมีความสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยาซึ่งกันและกัน มีความต้องการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตแตกต่างกัน เกี่ยวกับแสงแดด อุณหภูมิ ความชื้นในดิน เป็นต้น เช่น พืชทรงพุ่มขนาดเล็กต้องการแสงน้อย อยู่ใต้พืชที่ทรงพุ่มใหญ่ การทำลายของโรคแมลงที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นการควบคุมพืชบางชนิดให้มีปริมาณเหมาะสมในระบบนิเวศของพืช พืชที่ขึ้นปะปน หรือคละกัน ?มีคุณสมบัติ ช่วยยับยั้งการระบาดของโรคแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นได้ ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ? ? ต่อมา มีการพัฒนาเป็นเกษตรเพื่อการบริโภคและจำหน่าย จนถึงปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศมุ่งเพิ่มรายได้ จึงทำการเกษตรเพื่อจำหน่าย ทำให้ต้องใช้ทรัพยากรจากภายนอกมากขึ้น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ประกอบกับเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ต้องหันกลับมาทำการเกษตรเพื่อบริโภคและจำหน่ายในลักษณะทางเศรษฐกิจพอเพียง อีกครั้ง?
       เศรษฐกิจพอเพียง อาจขยายความได้ว่า เป็นการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตของคนไทยให้อยู่อย่างพอประมาณ เดินทางสายกลาง มีความพอดี และพอเพียงกับตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ สิ่งสำคัญต้องรู้จักพึ่งพาตนเองโดยไม่ทำให้้ผู้อื่นเดือดร้อน และรู้จักการนำทรัพยากรที่เรามีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น รู้จักการนำปัจจัยพื้นฐานมาใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ความสบายและพอเพียงกับตนเอง

เศรษฐกิจพอเพียงระดับเกษตรกร
การดำรงชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ แบ่งได้ 2 ระดับ คือ
        หนึ่ง เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคลทั่วไป เป็นความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างพอประมาณตนตามฐานะตามอัตภาพและที่สำคัญไม่หลงใหลตามกระแสวัตถุนิยม มีอิสระในการประกอบอาชีพ เดินทางสายกลาง ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับตนเองและสามารถพึ่งพาตนเองได้
        สอง เศรษฐกิจพอเพียงระดับเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจเพื่อการเกษตรที่เป็นการพึ่งพาตนเอง เกษตรกรจะใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการที่ดิน โดยเฉพาะแหล่งน้ำ และกิจกรรมการเกษตรได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของเกษตรกรเอง ด้วยการนำทฤษฎีใหม่ ขั้นที่หนึ่ง : ฐานการผลิตความพอเพียงมาใช้ในไร่นาของตนเอง โดยเริ่มจากการผลิต จะต้องทำในลักษณะพึ่งพาอาศัยทรัพยากร
        ในไร่นาและทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ให้มีความหลากหลายของกิจกรรมการเกษตรในไร่นา มีกิจกรรมเกื้อกูลกัน กิจกรรมเสริมรายได้ใช้แรงงานในครอบครัว ทำงานอย่างเต็มที่ ลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนการผสมผสานกิจกรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และประมงในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/iizdeu/2011/07/10/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น