วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สุนัขจรจัด ปัญหาสังคมที่ถูกมองข้าม

สุนัขจรจัด ปัญหาสังคมที่ถูกมองข้าม


             








    สุนัขสัตว์เลี้ยงที่แสนน่ารักของใครหลายๆคนเป็นที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบันสุนัขมีหลายสายพันธ์แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนที่ชอบ ตามธรรมดาแล้วลูกสุนัขเมื่อแรกเกิดจะน่ารักมากมีขนปุกปุยฟูรอบตัวหน้าตาน่ารัก น่าเอ็นดู ทำให้น่ารักและน่ากอด ขี้ประจบ ชอบเล่นซุกซน และทำให้คนอยากมีสุนัขไว้เป็นเพื่อนและการเพาะพันธุ์สุนัขขายทั่วไปและเกิดจาก การผสมพันธุ์กันเองของสุนัขจนมีมาเกินความต้องการ การเป็นปัญหาสังคม สุนัขหลายตัวถูกทอดทิ้งสุนัขที่เราเห็นเดินเกะกะหาอาหารอยู่แถวถนนส่วนมากเป็นลูกสุนัขที่เกิดจากสุนัขจรจัดแต่บางตัวก็เป็นลูกสุนัขบ้านที่เกิดจากสุนัขที่มีบ้านอยู่ สุนัขที่มี เจ้าของสุนัขจรจัดเหล่านี้ส่วนมากแล้วไม่เคยได้รับการทำหมัน ลูกสุนัขที่เกิดขึ้นในบ้านและที่เจ้าของไม่ต้องการเลี้ยงก็ถูกนำเอามาปล่อยทิ้ง ส่วนมากแล้วลูกสุนัขเหล่านี้จะถูกนำมาปล่อยแถวที่ ถนน ตลาดหรือวัด แทนที่จะรับผิดชอบหาที่อยู่ให้กับลูกสุนัข ถ้าไปตลาด ศูนย์การค้า บริเวณที่จอดรถ อาจจะได้พบสุนัขที่น่าสงสารเหล่านี้  พบกับดวงตาที่อ่อนแสงแสดงความเป็นมิตร เดินเกะกะ รอคอยอาหารเหลือเททิ้งจากร้านค้า จากรถเข็นขายอาหาร เดินหาอาหารตามที่ทิ้งขยะกินแทบทุกอย่างที่ขวางหน้าเพื่อปะทังความหิวและเพื่อความอยู่รอด มันเป็นชีวิตที่ หมดหวังความหวังหมดไปตั้งแต่แรกเริ่มถูกเอามาปล่อยทิ้ง แรกเริ่มที่มองหาเจ้าของไม่พบ ปล่อยให้อยู่แบบยถากรรม

วัดแห่งหนึ่งที่จังหวัดลำปาง

         

      

      

      ที่วัด สุนัขที่น่าสงสาร ที่ถูกนำมาปล่อยเหล่านี้ต้องต่อสู้ดุเดือดมากขึ้นอีกหลายเท่านัก เพราะวัดเองก็ไม่สามารถจะหาอาหารมาเลี้ยงสุนัขเหล่านี้ได้ทั้งหมดสุนัขต้องต่อสู้หา อาหารเองต้องปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มพวกสุนัขเจ้าถิ่นที่อยู่ในวัดมาก่อนให้ได้เพื่อความอยู่รอดเพราะถ้าเข้ากับพวกสุนัขที่อยู่ก่อนไม่ได้ก็หมายถึงตายจะถูกรุมกัดและบาดเจ็บจนตายการหาอาหารกินในวัดและตามแถวหมู่บ้านแสนจะลำบากยากเย็นเพราะส่วนมากชาวบ้านเขาก็มักจะเลี้ยง หมาเฝ้าบ้านไว้ป้องกันบ้านของเขากันอยู่แล้ว ไม่มีเศษอาหารหลงเหลือมาถึงพวก หมดหวังน่าสงสารเหล่านี้ บางวัดมีสุนัขที่เจ้าของนำมาปล่อยทิ้งที่วัดร่วมร้อยกว่าตัว เป็นจำนวนที่น่าตกใจ ไม่ใช่เพราะท่านเจ้าอาวาสท่านต้องการจะเลี้ยงสุนัขมากมายอย่างนี้แต่ท่านก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้และบางวัดก็ยังมีเจตนาร้ายที่ต้องการกำจัดสุนัขออกจากวัดอีกด้วย ทั้งนี้เพราะเจ้าของสุนัขที่นำสุนัขมาปล่อยไม่มีความคิดไม่มีความกรุณาสงสารและไม่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นสุนัขมักจะถูกรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์วิ่งทับ วิ่งชนอยู่เป็นประจำอุบัติเหตุเกิดขึ้นขณะที่วิ่งข้ามถนน นอนหลับอยู่ข้างรถ ใต้รถหรือแม้กระทั่งนอนหลับอยู่บนขอบข้างถนนก็ไม่เว้นถูกรถชนถูกรถทับ สุนัขจรจัดและสุนัขที่ถูกทอดทิ้งเหล่านั้น ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย บาดเจ็บหรือเมื่อเริ่มแก่ตัวลง จากชีวิตที่ต่อสู้เพื่อความอยู่รอด มีร่องรอยบาดแผล ไม่มีขนปุกปุย หน้าตาไม่น่ารัก ไม่น่ากอดเหมือนเมื่อตอนยังเป็นลูกสุนัข สุนัขเหล่านี้ไม่มีสภาพอยู่ในเกณฑ์ที่จะประกาศหาผู้อุปการะเลี้ยงได้


สภาพปัญหาในปัจจุบัน 
       ปัจจุบันสุนัขการเป็นอาหารที่คนนิยมบริโภค
 หลายประเทศในโลกนี้มีการกินเนื้อหมาอย่างกว้างขวาง เช่น จีน อิโดนีเซีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ใต้หวัน เกาหลี สวิตเซอร์แลนด์ เวียดนาม โพลีนีเซีย และพื้นที่บริเวณขั้วโลก (ไซบีเรีย-อลัสการ์) ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย จนเกิดการเป็นการค้าเนื้อสุนัข วิธีการหาสุนัขมาขาย คือจะขับรถกระบะไปตามหมู่บ้าน เพื่อขอแลกสุนัขกับถังน้ำและกะละมัง ขับรถหาสุนัขจนได้เยอะแล้วจึงนำไปส่งขายที่ จังหวัดสกลนคร บ้านท่าแร่ แต่หากมีเยอะมากสุนัขจะถูกส่งไปขายที่ประเทศเวียดนามและประเทศลาว
 ผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

 ผลกระทบต่อคน
|  ผลกระทบต่อสุนัขและแมว


·         เป็นพาหะสำคัญนำโรคพิษสุนัขบ้า และโรคสัตว์ติดคนอื่น ๆ
·         รบกวนและสร้างความเสียหายต่อปศุสัตว์
·         มลพิษจากอุจจาระ
·         มลภาวะจากเสียง
·         สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการจราจร
·         เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บบนถนน
·         เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บโดยเจ้าของ           ฟาร์ม,ปศุสัตว์
·         โรค
·         ภาวะขาดอาหาร (ทุพโภชนา)
·         ดุร้าย
·         ถูกทำลาย โดยผู้มีอำนาจหน้าที่
  
ข้อเสนอแนะในการแก้ไข
 1. ทำหมันถาวรสุนัขจรจัดในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เพิ่มจำนวน
2. ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสุนัขที่ไม่จำเป็นต้องซื้อ เช่น รับต่อมาจากผู้ที่มีมากเกินไป หรือนำสุนัขจรจัดที่ฟื้นฟูหรือได้มาเลี้ยงแทนการฆ่า
3. ประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายเข้าใจและร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
4.ให้มีการขึ้นทะเบียนสุนัขตามบ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบ ความเป็นเจ้าของและวัดผลทางสถิติได้
5.การให้ความรู้เพื่อให้เจ้าของสัตว์เกิดความรับผิดชอบและให้ประชาชนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งเห็นถึงประโยชน์ของการทำหมัน


ที่มา:http://jitapatpang.blogspot.com/2012/06/blog-post.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น